วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวคิดและหลักการ
การจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21


  • การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ในปัจจุบัน ที่เป็นผลกระทบมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
  • ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ต้องกลับมาทบทวนพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษา รวมทั้งการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองของชาติ ให้มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน ในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
  • สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
  • โดยมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียน และมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความเป็นไทย ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานก็มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการ เตรียมความพร้อมผู้เรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
  • โดยมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพ ทักษะ และความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 นั้น
  • จะต้องอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การเรียนรู้ ผ่านโครงงานหรือโครงการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น การเรียนรู้ในรูปของการค้นคว้าด้วยตนเอง
  • ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) รวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ แสวงหาความรู้ของผู้เรียน
  • ผู้สอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียน รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนและยกระดับศักยภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงได้จัดทำ Blog Sites หรับใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอน
  • เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน โดยดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ตามหลักการสำคัญต่อไปนี้
    • 1. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 2. มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการคิด ทักษะชีวิต และทักษะด้านการจัดการข้อมูล สารสนเทศ อย่างมี ประสิทธิภาพ (Information Technology)
    • 3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล (Data) จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สามารถวิเคราะห์ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (Knowledge) เพื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • 4. มุ่งสร้างเสริมนิสัยใฝ่เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน (Learning skill) ให้สามารถเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สามารถนำมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการ ดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ